ศูทร จำพวกคนงานมีธุระรับจ้างทำการทำของ คำว่า ศูทร แปลมาจาก สูทะ คำว่า สูท แปลว่า ไหลออกแห่งรส ได้แก่ ผู้ทำอาหาร ซึ่งเรียกว่า พ่อครัวในบาลีเรียกว่า สุททะ ก็มีพวกศูทรก็สนใจทำหน้าที่ครัวตลอดถึงรับจ้างทำการงานต่าง ๆซึ่งหมายความว่าพวกละบาป พวกที่อยู่ในป่าพากันเพ่งพิศหรือพินิจพิจารณาหาสิ่งที่เป็นบาปอกุศล บุญกุศล ว่าสิ่งใดดีสิ่งใดชั่วแอยู่ในบรรณศาลาโดยลำพังผู้เดียวเช้าขึ้นก็เที่ยวไปแสวงหาอาหารตามหมู่บ้านได้แล้วก็มาบริโภคแล้วก็นั่งคิดนอนตรองในทางคลองธรรมอยู่คน
ทั้งหลายจึงเรียกพวกนี้ว่า ฌายิกา แปลว่า ผู้เพ่ง
หรืองผู้เจริญญาน บางพวกก็ไม่เพ่งธรรมอยู่ในป่าไกล เข้าไปอาศัยอยู่ในป่าใกล้บ้านคิดแต่งคัมภีร์ขึ้นคิดได้อย่างไรก็จดไว้ไว้เขียนไว้เพื่อให้เป็นตำรา
พวกนี้คนทั้งหลายเรียกว่า อัชฌายิกา แปลว่า พวกไม่เพ่งเป็นพวกแต่งคัมภีร์ไปครั้นนานมาก็ไม่มีใครอยู่ป่าได้เข้าอยู่ในบ้านได้ศึกษาเล่าเรียนคัมภีร์ที่พวกก่อนแต่งไว้ยังมีพวกฤๅษีที่สำคัญแต่งคัมภีร์ศาสนาพราหมณ์ไว้อีก
พวกนี้จึงมีบุตรภรรยากันพวกเกิดในตระกูลของพวกนี้ก็เรียกว่าพวกพราหมณ์ต่อกันมาในบางคราวก็มีผู้นับถือพวกพราหมณ์ยิ่งกว่ากษัตริย์[1]
พราหมณ์ห้าจำพวกในปัญจกนิบาตพระพุทธเจ้าทรงแสดงว่าพวกพราหมณ์บัญญัติไว้ห้าจำพวก
คือ 1. พฺรหฺมสโม ผู้เสมอด้วยพรหม ได้แก่ ผู้มีมารดาบิดาเป็นพราหมณ์มาถึง 7
ชั่วคนแล้วประพฤติโกมารพรหมจรรย์ คือ ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนอยู่ไม่มีภรรยาถึง 48
ปีครั้นศึกษาเล่าเรียนแล้วก็ขอทานนำทรัพย์ไปบูชาอาจารย์แล้วก็ออกบวชเจริญพรหมวิหาร
4 จนได้สำเร็จญาณขึ้นไปเกิดพรหมโลก 2. เทวสโม ผู้เสมอด้วยเทวดา ได้แก่ ผู้มีมารดาบิดาเป็นพราหมณ์มาถึง
7 ชั่วคนประพฤติโกมารพรหมจรรย์ คือ เป็นโสดงดเว้นจากการเกี่ยวข้องกับสตรี
มีแต่ตั้งใจเล่าเรียนคัมภีร์พราหมณ์ซึ่งเรียกว่าตั้งใจเรียนมนต์อยู่ 48 ปีแล้วก็เที่ยวขอทานนำทรัพย์ไปให้อาจารย์ครั้นแล้วก็เที่ยวแสวงหาภรรยาได้นางพราหมณีเป็นภรรยาพอได้ร่วมประเวณีแล้วก็ออกบวชตั้งใจเจริญธรรมเวลาตายแล้วได้ขึ้นไปเกิดบนสวรรค์
3. มาริยาโท ผู้มีเขตแดน ได้แก่ ผู้มีมารดาบิดาเป็นพราหมณ์มาถึง 7 ชั่วคน
ประพฤติโกมารพรหมจรรย์อยู่ 48 ปีตั้งใจเรียนมนต์แล้วเที่ยวขอทานหาทรัพย์ไปบูชาอาจารย์แล้วจึงเที่ยวแสวงหาภรรยา
ได้แต่งงานกับนางพราหมณี จนมีบุตรอยู่ครอบครองเรือน ไม่ออกบวช
แต่ไม่ล่วงขนบธรรมเนียมของพวกพราหมณ์ก่อนๆทำตามอย่างพวกพราหมณ์ก่อนๆ 4. สมฺภินนฺมริยาโท
ผู้มีเขตแดนเจือ ได้แก่ ผู้มีมารดาบิดาเป็นพราหมณ์มาถึง 7 ชั่วคน
ประพฤติโกมารพรหมจรรย์อยู่ 48 ปีตั้งใจเรียนมนต์แล้วเที่ยวขอทานหาทรัพย์ไปบูชาอาจารย์แล้วจึงเที่ยวแสวงหาภรรยาโดยชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง หาด้วยการซื้อการขายบ้าง แต่งงานกับหญิงไม่เลือกตระกูล คือ แต่งงานกับนางพราหมณ์ก็มี
นางกษัตริย์ก็มี นางเวศก็มี นางศูทรก็มี นางจัณฑาลก็มี นางนิษาทะ[2]ก็มี
นางเสื่อลำแพนก็มี นางช่างรถก็มี หญิงเทหยากเยื่อก็มี หญิงมีครรภ์ก็มี หญิงมีลูกอ่อนก็มี หญิงกำลังมีระดูก็มีไม่มีระดูก็มี
ไม่ตั้งอยู่ในเขตแดนของพราหมณ์ก่อน ๆ 5. พราหมณจณฺฑโล
พราหมณ์จัณฑาล ได้แก่ผู้มีมารดาบิดาเป็นพราหมณ์มาถึง 7 ชั่วคน ประพฤติโกมารพรหมจรรย์อยู่
48 ปี ตั้งใจเรียนมนต์แล้วเที่ยวขอทานหาทรัพย์ไปบูชาอาจารย์ด้วยอาการต่างๆ คือ ด้วยชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง
[1]ปัญญาภิกขุนา รจิตา(ปุ้ย แสงฉาย ป.6 อนงคาราม), หลักพระปฐมสมโพธิ
หรือ พระพุทธประวัติ ฉบับสมบูรณ์, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ลูก ส.ธรรมภักดี, 2530), หน้า
22-24.
[2]
นิษาทะ
คือบุตรที่เกิดจากบิดาเป็นพราหมณ์
มารดาเป็นศูทรเป็นผลจากการแต่งงานข้ามวรรณะกรือเรียกว่าวรรณะสังกร
ด้วยการทำนาบ้าง ค้าขายบ้าง เลี้ยงโคบ้าง
เป็นนายขมังธนูบ้างด้วยศิลปะต่างๆ บ้าง
เป็นราชบุรุษบ้าง เที่ยวขอทาน เมื่อได้ทรัพย์แล้วก็นำไปมอบให้อาจารย์ แล้วเที่ยวแสวงหาภรรยา ไม่เลือกชาติเลือกตระกูล
เมื่อได้ภรรยาแล้วก็หาเลี้ยงชีพด้วยการงานไม่เลือก ดังนี้ซึ่ง
พราหมณ์จัณฑาลจำพวกที่5นี้แหละยังมีเหลืออยู่ในโลกจนกระทั่งพุทธกาลทั้งยังเป็นพวกที่สอนศาสนาพราหมณ์เป็นพวกบูชายัญและพวกปุโรหิตาจารย์ ศาสนาของพวกพราหมณ์แต่งขึ้นตามความคิดความเห็นของพราหมณ์คนหนึ่งๆและของฤๅษีที่เป็นศาสนาพราหมณ์แต่งกันเรื่อยมาผู้แต่งก็เป็นปุถุชนคัมภีร์พราหมณ์จึงมีมาก
เวศหรือแพศย์จำพวกพลเรือนมีธุระทางทำนาค้าขายคำว่าเวศ หรือ
แพศย์นี้มาจากคำว่า วิสุ
ซึ่งแปลว่า ต่าง ๆ ใน อัคคัญสูตรอันเป็นพุทธพจน์ว่า วิสุ กมฺมนฺเต
ปโยเชนฺตีติ เวสฺสา แปลว่า พวกใดประกอบงานต่าง ๆ พวกนั้นชื่อว่า เวศหรือแพทย์
ได้แก่ บุคคลจำพวกที่ครองเรือน และช่างต่างๆ
ศูทร จำพวกคนงานมีธุระรับจ้างทำการทำของ คำว่า
ศูทร แปลมาจาก สูทะ คำว่า สูท แปลว่า ไหลออกแห่งรส ได้แก่ ผู้ทำอาหาร ซึ่งเรียกว่า
พ่อครัวในบาลีเรียกว่า สุททะ ก็มีพวกศูทรก็สนใจทำหน้าที่ครัวตลอดถึงรับจ้างทำการงานต่าง
ๆ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น