ความหมายของอภิปรัชญา ญาณวิทยา


ความหมายของอภิปรัชญาและญาณวิทยา
(นายพชร พรรธนประเทศ)
ความหมายของอภิปรัชญา
คำว่า อภิปรัชญา แปลความตามตัวได้ว่า ปรัชญาอันยิ่งหรือปรัชญาชั้นสูง อภิปรัชญา (Metaphysics) เป็นวิชาที่ว่าด้วยความแท้จริงของสรรพสิ่ง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภววิทยา (Ontology) ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความมีอยู่ ความเป็นอยู่ของสรรพสิ่ง โดยทั่วไปแล้วถือว่า สิ่งที่มีอยู่ย่อมเป็นสิ่งแท้จริง และสิ่งแท้จริงย่อมมีอยู่ ความมีอยู่กับความแท้จริงจึงเป็นอันเดียวกัน ดังนั้น ทั้ง 2 คำจึงเป็นอันเดียวกัน ต่างแต่ว่า Ontology ใช้มาก่อน    
คำว่า อภิปรัชญา เป็นศัพท์บัญญัติภาษาไทยของราชบัณฑิตยสถาน บัญญัติขึ้นแทนคำ Metaphysics ในภาษาอังกฤษ พจนานุกรมศัพท์ปรัชญาอังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๓ ให้บทนิยามไว้ว่า "เป็นปรัชญาสาขาที่ว่าด้วยสิ่งเป็นจริง เช่น พระเป็นเจ้า (God) โลก (World) วิญญาณ (soul) สาระ (Substance) เจตจำนงเสรี (freewill)"
    คำว่า สิ่งเป็นจริง (reality) พจนานุกรมศัพท์ปรัชญาที่อ้างถึงข้างต้น ให้บทนิยามว่า ได้แก่ "สิ่งที่มีอยู่จริง เป็นอยู่จริง ซึ่งอาจรู้ได้หรือไม่อาจรู้ได้ทางประสาทสัมผัส" หมายความว่า สิ่งเป็นจริงนั้นมีลักษณะ ๒ อย่าง คือ มีอยู่จริงและเป็นอยู่จริง ฉะนั้น การจะถือว่าสิ่งใดเป็นสิ่งเป็นจริง ก็ต้องดูว่า สิ่งนั้น มีอยู่จริง และเป็นอยู่จริงหรือไม่    การจะรู้ว่า สิ่งใด มีอยู่จริงหรือไม่มีอยู่จริง ให้ศึกษาจากความมีอยู่ (existence) ของสิ่งนั้น เช่น ศึกษาว่า พระเป็นเจ้า (God) มีอยู่จริงหรือไม่ ถ้ามีอยู่จริง มีอยู่ที่ไหน อยู่อย่างไร พวกเทวนิยม (theists) จะตอบคำถามนี้ว่า พระเป็นเจ้ามีอยู่เอง เป็นอยู่เอง คือ เกิดเอง ไม่มีเหตุปัจจัยภายนอก จึงไม่ถูกจำกัดด้วยกาละ =  นิรันดร ไม่ถูกจำกัดด้วยเทศะ = แพร่อยู่ทั่วไป ทั้งในโลกนี้ ที่เรียกตามศัพท์ทางวิชาการว่า อัพภันตรภาพ (immanent) และแพร่เลยโลกนี้ออกไปด้วยที่เรียกว่า อุตรภาพ (transcendent)    การจะรู้ว่า สิ่งใดเป็นอยู่จริงหรือไม่ ให้ศึกษาจากความเป็นอยู่หรือความเป็น (essence) ของสิ่งนั้น เช่น ศึกษาว่า พระเป็นเจ้า คือใคร มีคุณลักษณะอย่างไร พวกเทวนิยมจะตอบคำถามนี้ว่า พระเป็นเจ้า คือ ผู้สร้างโลกและสรรพสิ่ง บางพวกพรรณนาว่า มีรูปร่างลักษณะเป็นบุคคล (personal) บางพวกพรรณนาว่า ไม่มีรูปร่างลักษณะเป็นบุคคล (impersonal) และพรรณนาคุณลักษณะว่าเป็นสัพพัญญู (omniscient) สรรพวิภู (omnipresent) สรรพพลานุภาพ(omnipotent)เป็นต้น
                สรุป อภิปรัชญา คือ สาขาปรัชญาที่ศึกษาหาความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลายโดยใช้เหตุผลเป็นเครื่องมือ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เป็นวิชาที่ว่าด้วยการคาดคะเนความจริงด้วยเหตุผล

                ความหมายของญาณวิทยา
คำว่า  ญาณวิทยา   เป็นภาษาสันสกฤต แยกออกได้เป็น 2 คำ คือ ญาณ + วิทยา ญาณ แปลความหมายถึง ความรู้ ส่วนคำว่า วิทยา หมายถึง วิชา หรือความรู้  นำมารวมกันเปฌน คำว่า  ญาณวิทยา แปลความหมายรวมกันได้หมายความว่า เป็นวิชาว่าด้วยความรู้  หรือ ทฤษ.ฎีที่ว่าด้วยความรู้ 
คำว่าญาณวิทยา เมื่อใช้กับภาษาอังกฤษ ใช้ว่า  Epistemology  เมื่อนำคำนี้มาแยกพิจารณาความหมายสามารถแยกอออกได้เป็น 2 คำ คำแรก espisteme คำนี้มีความหมายเท่ากับ คำว่า knowledge ความรู้  และ Logos เป็นคำที่สอง ตรงกับคำว่า Sciene หรือ theory หมายถึง ศาสตร์หรือทฤษฎี
ความหมายของ ญาณวิทยาจึงเป็นวิชาว่าด้วยความรู้หรือว่าด้วยความรู้ จึงมีความจำเป็นต้องศึกษาถึงบิ่อเกิด ของธรรมชาติ ขอบเขตและความสมเหตุสมผลของความรู้ตามความหมายทึ่ถอดความออกมาได้ดังได้กล่าวแล้วข้างต้น รวมตลอดจนญาณวิทยายังศึกษาถึงความสัมพันธ์กับวิทยาศาสตร์และสามัญสำนึก ความรู้สามัญเป็นความีรู้ไม่เป็นระบบไม่มีวิธีการของตนเอง ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ที่มีระบบและมีวิธีการเป็นของตนเอง ตามความหมายของคำแรก กับคำหลังข้างต้น(ญาณ+วิทยา) เมื่อได้แยกคำแล้วทำให้เราทราบว่าวิทยาศาสตร์นำความรู้สามัญมาจัดระบบใหม่ให้มีเหตุผล ส่วนญาณวิทยานำเอาความรู้สามัญและความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปจัดระบบใหม่ ด้วยการคิดหาเหตุผลอีกต่อหนึ่ง ความรู้แบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ 1.ความรุ้สามัญเป็นความรู้ระดับต่ำ 2.ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ระดับกลาง 3.ความรู้ทางญาณวิทยาเป็นความรู้ระดับสูง จึงได้ความหมายความรู้ทางวิทยาศาสตร์และความรู้ทางด้านญาณวิทยามีทั้งแง่ที่เหมือนกัน แง่ที่ต่างกัน และแง่ที่เกี่ยวข้องกัน วิธีการที่มีลักษณะทางวิทยาศาตร์ ได้แก่ การสังเกต การทดลอง การจัดประเภท การอธิบาย การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การอนุมาน และการอุปมาณ         ส่วนวิธีการของญาณวิทยา คือ การคิดหาเหตุผลจากประสบการณ์ทั่วไป และประสบการณ์ทาง
ญาณวิทยากับอภิปรัชญา
ญาณวิทยาจะต้องใช้ญาณวิทยาเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าธรรมชาติที่แท้จริงของสิ่งที่มีอยู่ ความรู้ช่วยให้เราเข้าใจสัจธรรม การจะเข้าใจสัจธรรมได้ต้องมีวิธีการ คืออาศัย ญาณวิทยา
อภิปรัญาและญาณวิทยาต่างเป็นสาขาย่อยของปรัชญาเช่นกันต่างต้องอาศัยซึ่งกันและกันเพื่อค้นคว้าหาความจริงของสิ่งทั้งหลายถูกต้อง
สรุปความหมายของญาณวิทยา ที่เราต้องศึกษาถึงความหมายที่ขยายออกมา ก็มาจากรากศัพท์ของญาณวิทยานั่นเอง (นายพชร พรรธนประเทศ)



ความคิดเห็น