ปรัชญาตะวันออก พุทธปรัชญา ต้องเริ่ม ศึกษาที่อินเดีย-เนปาล


แหล่งศึกษาปรัชญาตะวันออก

ศรัทธาในทัศนะทางปรัชญาของฮินดู-พุทธศาสนา (นายพชร พรรธนประเทศ)
ที่ไปอินเดีย-เนปาลเมื่อวันที่ 18-26กุมภาพันธ์2559

                        ครั้งเมื่อได้มีโอการเดินทางไปอินเดีย-เนปาลครั้งนี้เป็นการศึกษาปรัชญาและศาสนาเพราะอินเดียเป็นแหล่งกำเนิดปรัชญาและศาสนาหลายๆก็เกิดขึ้นจากอินเดีย-เนปาลเพื่อประกอบการศึกษาให้เห็นเป็นประจักษ์ในองค์ความรู้ประเทศอินเดียมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทยหลายอย่าง เช่นศาสนาหลักๆที่เรานับถือกันอยู่เวลานี้คือพุทธศาสนาและศาสนาฮินดูก็มาจากอินเดีย อินเดียเป็นต้นกำเนิดของหลายศาสนาที่สำคัญ อาทิ พราหมณ์ ฮินดู เชน รวมถึงศาสนาพุทธ สังคมอินเดียจึงเป็นสังคมที่เปิดกว้างยอมรับความแตกต่างในการนับถือศาสนาที่ต่างกันอินเดียมีความสำคัญในฐานะเป็นดินแดนพุทธภูมิ คือเป็นดินแดนที่เกิดเหตุการณ์สำคัญทางพุทธศาสนาหลายเหตุการณ์ คือ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติที่ลุมพินี (ปัจจุบันอยู่ในประเทศเนปาล) ตรัสรู้ที่พุทธคยา รัฐพิหาร แสดงปฐมเทศนาที่สารนาถ และปรินิพพานที่กุสินารา รัฐอุตรประเทศ สถานที่ทั้ง 4 แห่งนี้ พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า เป็นสถานที่ที่ชาวพุทธจะสามารถระลึกถึงพระองค์ได้ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นสังเวชนียสถาน 4 แห่ง ที่ชาวพุทธทั่วโลกนิยมเดินทางไปสักการะ นอกจากนี้ ในปัจจุบันยังมีสถานที่ที่อาจกล่าวได้ว่าเป็น Unseen Buddhist Circuit ที่สำคัญของอินเดียที่เริ่มได้รับความนิยมในหมู่ผู้แสวงบุญชาวพุทธ อาทิ เมืองสาวัตถี ซึ่งเป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาอยู่นานที่สุดถึง 26 พรรษา เมืองไวสาลี ที่มีเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราชที่ยังมีความสมบูรณ์ที่สุด รรณคดีที่สำคัญของเราบางเรื่องเช่น รามเกียรติ์ก็มาจากอินเดีย แม้ระบบการปกครองและระบบกฎหมายไทยโบราณก็ได้มาจากประเทศอินเดีย สถาบันพระมหากษัตริย์อย่างที่เรามีอยู่เวลานี้ก็มาจากแนวคิดของอินเดีย ดังนั้นการศึกษาเรื่องราวของอินเดียจึงมีความสำคัญต่อการเข้าใจสังคมไทย บทความนี้จะกล่าวถึงแนวคิดทางศาสนาและปรัชญาของอินเดีย และชี้ให้เห็นว่าสังคมไทยเราควรรับเอาแนวคิดเหล่านี้มาปรับใช้ในยุคปัจจุบันอย่างไรบ้าง นอกเหนือจากที่มีอยู่แต่ก่อนแล้ว
                                    ตลอดระยะทางสองฝากข้างถนนในอินเดียยังคงวัฒนธรรมความเชื่อสืบเนื่องมาจากปรัชญาพราหมณ์-ฮินดูทั้งในปัจจุบันที่เด่นชัดมากว่าคือศาสนาฮินดู ขณะเดียวกันประชาชนอินเดียก็ให้ความเคารพกราบไหวพระพุทธเจ้าของเราด้วยเช่นนั่งสมาธิกราบไหว้พระภิกษุจากพุทธศาสนาเมื่อกลับไปบ้านก็ดำรงชีวติแบบฮินดู นับว่าเป็นความหลากหลายของศาสนาทั้งปรัชญาที่อินเดียนี้ได้ถูกนำมาใช้ที่อินเดียแห่งนี้มากที่สุดประเทศหนึ่งคือผสมปนเปไปหมดตามทุกคำเชื่อตามปรัชญาได้ถูกนำมาใช้ที่อินเดียนี้ทุกศาสนาและทุกลัทธิความเชื่อเท่าที่มีการเรียนการสอนในสาขาวิชาศาสนาและปรัชญาโดยเฉพาะอย่างยิ่งปรัชญาตะวันออกทกสำนักปัจจุบันยังคงมีการนำมาใช้กันอยู่ในประเทศอินเดีย-เนปาลนี้ทั้งหมดศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดของอินเดียคือ ศาสนาพราหมณ์ ต่อมาเรียกว่า ศาสนาฮินดู เดิมนั้นศาสนาฮินดูสอนเรื่องเทพเจ้าประจำธรรมชาติ เช่น สอนว่ามีเทพประจำแผ่นดิน ทะเล ท้องฟ้า ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และอื่น ๆ ต่อมาเทพเจ้าหลายองค์นี้ก็ได้รับเลือกให้มีบทบาทเด่นที่สุดสามองค์คือ พระพรหม พระนารายณ์ (หรือพระวิษณุ) และพระศิวะ (หรือพระอิศวร) ปัจจุบันเทพเจ้าสามองค์มีเพียงสององค์ที่ชาวฮินดูนับถือมากที่สุดคือ พระศิวะ และ พระนารายณ์ ในสังคมไทยนั้นเรากลับนับถือ พระพรหม มากกว่าพระนารายณ์และพระศิวะ ชาวฮินดูเชื่อว่าเทพเจ้าสามองค์นี้มีบทบาทหลักเกี่ยวข้องกับโลกเรา (โลกในที่นี้หมายถึงจักรวาล) ต่างกันคือ พระพรหมสร้างโลก พระนารายณ์คุ้มครองโลก พระศิวะทำลายโลก บทบาทสามประการของเทพเจ้าสามองค์นี้มาจากความเชื่อของศาสนาฮินดูที่เมืองพาราณสีจะพบอิทธิพลของฮินดูอย่างชัดเจน ขณะเดียวกับก็มีพัฒนาการของพุทธศาสนาก็พบได้ที่เมืองพาราณสีเช่นกัน

                 สาระความจริงของชีวิตตามแนวศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 
                      ศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาเก่าแก่ของโลก คาดกันวามีอายุมากกว่า 4,000 ปี ต่อมาศาสนาพราหมณ์ได้วิวัฒนาการมาเป็นศาสนาฮินดู กล่าวคือในยุคแรก ๆ แนวคิดเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องเทพเจ้าต่าง ๆ ได้มีอิทธิพลต่อชีวิตของชาวอินเดีย จนกระทั่งเรื่องราวทั้งหลายในชีวิตล้วนมีเทพเจ้าเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น และเทพเจ้าเหล่านั้นก็ถูกผูกขาด โดยชาวอารยันชั้นสูง ที่เรียกว่า วรรณะสูง ซึ่งได้แก่กษัตริย์และพราหมณ์ กษัตริย์ทำหน้าที่เป็นนักปกครอง พราหมณ์ทำหน้าที่เป็นผู้รับทำพิธีกรรม คือรับหน้าที่เป็นผู้สื่อสารกับเทพเจ้า ทั้งสองวรรณะนี้จัดว่าเป็นชนวรรณะสูง แพศย์เป็นชาวอารยันเช่นเดียวกันกับกษัตริย์และพราหมณ์ มีหน้าที่ในการประกอบธุรกิจค้าขาย หรือเป็นชาวนาที่มีนาเป็นของตนเอง จัดว่าเป็นวรรณะกลาง (ชนชั้นกลาง) และวรรณะสุดท้ายคือ ศูทร มีหน้าที่รับใช้คนชั้นสูง เป็นกรรมกรแบกหามทำงานหนัก จัดเป็นชนชั้นต่ำ ไม่สามารถที่จะร่วมคบหาสมาคม กินอยู่หลับนอน และร่วมกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเสมอภาคกับชนชั้นสูงหรือชนชั้นกลางดังกล่าวได้ เพราะเป็นข้อห้ามทางศาสนาคือคัมภีร์พระเวท ซึ่งชาวอารยันเป็นผู้สร้างขึ้นมา ศูทรเป็นชาวอินเดียพื้นเมืองซึ่งอาศัยอยู่ในชมพูทวีปมาก่อน ก่อนที่ชาวอารยันอพยพเข้ามา จึงเป็นอันว่าศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาของชาวอารยัน และเหตุผลทีเรียกว่าศาสนาพราหมณ์ เพราะพราหมณ์ผู้ซึ่งมีหน้าที่ทำพิธีกรรมมีบทบาทในสังคมสูงมาก
                             การเกิดดับของโลกนี้ศาสนาฮินดูเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับการที่มนุษย์เราประพฤติตนอย่างไรในทางศีลธรรม เมื่อพระพรหมสร้างโลกแล้ว พระพรหมก็จะปล่อยให้มนุษย์ดูแลโลกไป ตราบเท่าที่มนุษย์ยังมีศีลธรรมอยู่ ตราบนั้นโลกก็จะยังดำเนินไปด้วยดี ต่อเมื่อใดที่มาตรฐานทางศีลธรรมของมนุษย์ต่ำลง เมื่อนั้นโลกจะค่อย ๆ เสื่อมลง ความเสื่อมของโลกนี้ดูจากการที่โลกจะมีความทุกข์เพิ่มมากขึ้น ชีวิตมนุษย์จะเต็มไปด้วยปัญหามากกว่าแต่ก่อน ตามความเชื่อของชาวฮินดู เพื่อให้ศีลธรรมของมนุษย์ดำรงอยู่ พระนารายณ์จะอวตารลงมาเกิดเป็นผู้นำทางศีลธรรมเพื่อบอกมนุษย์ว่า อะไรคือความดี อะไรคือความชั่ว บางครั้งก็มีการอธิบายว่าแม้แต่พระศาสดาในศาสนาอื่น เช่น พระพุทธเจ้าของศาสนาพุทธ ก็เป็นภาคอวตารของพระนารายณ์ จะอย่างไรก็ตาม พระนารายณ์ก็ไม่สามารถบังคับให้มนุษย์ทำดีได้หากมนุษย์ไม่เห็นคุณค่าของความดีนั้นด้วยตัวเขาเอง ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าแม้จะมีศาสนาแล้ว ในเวลาต่อมาศีลธรรมของมนุษย์ก็สามารถเสื่อมลงได้เพราะมนุษย์ไม่เห็นคุณค่าของศาสนา เมื่อเป็นเช่นนี้บทบาทของพระนารายณ์ก็จะค่อย ๆ ลดลง จนถึงวันหนึ่งเมื่อมาตรฐานทางศีลธรรมของมนุษย์ตกต่ำจนถึงระดับวิกฤติ พระศิวะจะเข้ามาทำหน้าที่แทนพระนารายณ์ นั่นก็จะถึงจุดจบของโลก โลกจะพินาศเพราะการทำลายของพระศิวะ เมื่อโลกถูกทำลายแล้ว พระพรหมก็จะเข้ามารับช่วงในการสร้างโลกรอบใหม่ต่อไป
                          แนวคิดของศาสนาฮินดูหลายอย่างนั้นศาสนาอื่น ๆ ในอินเดียเช่นพุทธศาสนาอาจไม่เห็นด้วย เช่นพุทธศาสนาไม่เห็นด้วยกับแนวคิดเรื่องวรรณะที่ศาสนาฮินดูสอน พุทธศาสนาไม่เห็นด้วยกับความเชื่อของศาสนาฮินดูที่ว่าพิธีกรรมช่วยให้ชีวิตเราบริสุทธิ์ได้ (เช่นการลงไปอาบน้ำในแม่น้ำคงคาจะช่วยให้พ้นจากบาปที่ได้กระทำมา) แต่ในเรื่องโครงสร้างทางศีลธรรมที่กล่าวมานี้ ดูเหมือนว่าพุทธศาสนาจะเห็นด้วยกับศาสนาฮินดู นอกจากพุทธศาสนายังมีในการทัศนศึกษาอินเดียครั้งนี้แม้ว่ายังมีข้อถกเถียงกันระหว่างพูทธศาสนากับฮินดูประชาชนก็ได้นับถือทั้งสองศาสนาควบคู่ไปด้วยกัยปฏิเสธไม่ได้ว่านายพชร พรรธนประเทศเห็นว่าได้มีการนับถือของประชาชนชาวอินเดียทุกศาสนาที่เกิดอยู่ที่นี้รวมทั้งหลักปรัชญาอินเดียตะวันออกหลายๆสำนักก็มีการนำมาใช้ทั้งหมดจนเกือนจะแยกไม่ออกว่าการแสดงออกมานั้นบางครั้งก็เป็นแนวปฏิบัติทางปรัชญาโยคะหรืออริยะสัจ4 ของพุทธศาสนาหรือการนับถือศิวะนับถือโคมาจากฮินดู
                         ปัญหาข้างต้นนี้เป็นปัญหาที่เรียกกันในทางปรัชญาว่า ปัญหาความขัดแย้งทางศีลธรรม (moral dilemma) ซึ่งเป็นปัญหาที่ตอบได้ยาก และปัญหาประเภทนี้โลกมนุษย์กำลังเผชิญหน้าอยู่ไม่น้อย (เช่นปัญหาการทำแท้ง ปัญหาโทษประหารชีวิต) มีความพยายามจากหลายฝ่ายที่จะแก้ปัญหาความขัดแย้งทางศีลธรรมเหล่านี้ และศาสนาก็เป็นสถาบันหนึ่งที่มีบทบาทสูงในการให้คำอธิบายและทางออกแก่ปัญหาเหล่านี้ ในที่นี้เราจะลองพิจารณาทัศนะของสามศาสนาที่สำคัญของอินเดียที่กล่าวข้างต้น คำตอบที่แต่ละศาสนาให้แก่ปัญหาเหล่านี้จะสะท้อนให้เห็นว่าแต่ละศาสนาคิดอย่างไรเกี่ยวกับโลกและชีวิต
                          เราจะเริ่มที่ ศาสนาฮินดู ในคัมภีร์ "ภควัทคีตา" ที่เป็นคัมภีร์สำคัญเล่มหนึ่งของศาสนาฮินดู มีการนิยามธรรมว่าคือการทำหน้าที่ ในคัมภีร์เล่มนี้มีการเล่าเรื่องว่าแม่ทัพคนหนึ่งเกิดความสงสัยว่า การที่ตนเองเป็นทหารต้องเข้ารบอยู่เสมอและในการรบนั้น ก็จำเป็นต้องเข่นฆ่าฝ่ายตรงกันข้าม เขาจะต้องรับบาปอันเกิดจากการฆ่าคนหรือไม่ เนื้อหาของคัมภีร์ได้ตอบว่า ตามทัศนะของศาสนาฮินดู อะไรจะผิดหรือไม่ผิดขึ้นอยู่กับว่าสิ่งนั้นเป็นหน้าที่ของเราหรือไม่ การตั้งคำถามเกี่ยวกับการกระทำใด ๆ โดยไม่ดูว่ากระทำโดยคนที่มีหน้าที่หรือไม่ ไม่สามารถตอบได้ว่าผิดหรือถูก เช่นการฆ่า ถามว่าผิดหรือถูกทันทีไม่ได้ ต้องถามว่าใครเป็นคนฆ่าและใครถูกฆ่า และฆ่าในสถานการณ์เช่นใด เช่น นายเขียวเป็นทหารไปรบฆ่านายขาวซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามตาย อย่างนี้ ไม่ถือว่าผิด เพราะเป็นการทำตามหน้าที่ แต่ถ้านายเขียวเป็นคนธรรมดา วันหนึ่งเดินเข้าซอยเกิดเขม่นกับนายขาวแล้วฆ่านายขาวตาย อย่างนี้ ถือว่าผิด เพราะนายเขียวไม่มีหน้าที่ในการฆ่า กรณีตัวอย่างที่ยกมาข้างต้น ตามศาสนาฮินดูการกินยาฆ่าพยาธิ ถ้าตีความว่า เป็นไปตามหน้าที่ของมนุษย์ที่จะพึงรักษาสุขภาพของตนให้ดี ก็ไม่ถือว่าผิด การฆ่าม้าขาหักในทะเลทราย เพราะไม่ต้องการให้มันทุกข์ทรมาน ถ้าตีความว่า เป็นหน้าที่ของเราที่เป็นเจ้านายมันที่ต้องกระทำเช่นนั้นก็ไม่ถือว่าผิด
                   ศรัทธาตามทัศนะของพุทธศาสนา คือ การทำตัวให้สอดคล้องกับกฎธรรมชาติ การฆ่านั้นพุทธศาสนาถือว่าผิด ไม่ว่าจะฆ่าใคร ฆ่าที่ไหน หรือฆ่าภายใต้สถานการณ์เช่นใดก็ตาม ที่พุทธศาสนาเชื่อเช่นนั้นก็เพราะพิจารณาว่าการฆ่าเป็นอกุศลกรรมตามธรรมชาติ และสิ่งที่เป็นอกุศลกรรมตามธรรมชาตินั้นย่อมส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้กระทำเสมอ ไม่ว่าผู้กระทำจะอ้างว่าทำไปเพราะไม่มีทางเลือก เพราะสงสาร หรือเพราะถูกบังคับก็ตาม การไปรบแล้วฆ่าศัตรู การกินยาฆ่าพยาธิ การฆ่าม้าขาหักในทะเลทรายล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่ผิดตามหลักการของพุทธศาสนาทั้งสิ้น แม้ว่าพุทธศาสนาจะมองว่าความผิดถูกเป็นเรื่องตามธรรมชาติ มนุษย์ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ผิดให้ถูกหรือที่ถูกให้ผิด แต่พุทธศาสนาก็มีจารีตในการที่จะไม่ใช้ศาสนาบีบบังคับให้บุคคลทำตามศีลธรรมของศาสนาหากเขาไม่ยินดี ชาวพุทธที่จำเป็นต้องทำบาปเช่นต้องประกอบอาชีพประมงเพื่อเลี้ยงชีพและไม่มีอาชีพอื่นให้ทำในท้องถิ่นนั้น (เช่นบริเวณชายทะเลที่ไม่สามารถทำการเกษตรได้) พุทธศาสนาก็อนุโลมให้เจ้าตัวพิจารณาเองว่าจะจัดการกับชีวิตตนเองอย่างไร ถ้าเจ้าตัวเขาเห็นว่าต้องทำไม่เช่นนั้นจะอดตายก็ทำได้ แต่พุทธศาสนาก็ยังยืนยันว่าการทำประมงนั้นเป็นบาป และชาวประมงก็ต้องรับกรรมที่กระทำนั้นในอนาคต การต้องทำบาปไม่เช่นนั้นจะอดตายพุทธศาสนาก็ยังถือว่าไม่พ้นความผิด ในขณะที่ศาสนาฮินดูอาจจะมองว่าการทำประมงเป็นหน้าที่ ถ้าไม่มีชาวประมงเราก็ไม่มีปลากิน ดังนั้นการทำประมงจึงไม่ผิด แต่การตกปลาเพื่อความสนุกสนานโดยไม่มีหน้าที่รองรับต้องถือว่าผิด                           
                  ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นการพิจารณาศาสนาของอินเดียจากประเด็นการตัดสินค่าทางจริยธรรมยังมีอีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้ประเด็นที่กล่าวมาข้างต้นคือประเด็นว่าอะไรคืออุดมคติสูงสุดของชีวิต อันที่จริงประเด็นนี้อาจถือได้ว่าสำคัญกว่าประเด็นแรกเสียด้วยซ้ำหากเราคิดว่าแนวความคิดทางปรัชญาและศาสนาของอินเดียนั้น โดยภาพรวมล้วนมุ่งแสวงหาว่า อะไรคือจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิตด้วยกันทั้งสิ้นเราอาจแบ่งปรัชญาและศาสนาของอินเดียออกเป็น 2 พวกในเรื่องที่กล่าวอยู่นี้ คือ
                          (1) พวกที่เห็นว่าเป้าหมายสูงสุดของชีวิตคือการแสวงหาความสุขทางประสาทสัมผัสใส่ตน ปรัชญาที่มีแนวคิดนี้คือ ปรัชญาจารวาก
                          (2) พวกที่เห็นว่าความหลุดพ้นไปจากความทุกข์ อันเนื่องมาจากการต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ คือเป้าหมายสูงสุดของชีวิต ศาสนาที่เห็นในแนวนี้ก็คือศาสนาโดยทั่วไปของอินเดียอันได้แก่ศาสนาฮินดู พุทธศาสนา
                               แม้ว่าพุทธศาสนาจะเน้นเรื่องโลกหน้า แต่ก็มีความคิดว่าขณะที่อยู่ในโลกนี้เราก็สามารถมีความสุขได้ในบางระดับ แต่สุขที่พุทธศาสนาสอนไม่ใช่สุขทางกายอย่างที่ปรัชญาจารวากสอน พุทธศาสนาคิดว่าการรู้จักกินดื่มหาความสุขใส่ตัวนั้น สัตว์เดรัจฉานมันก็รู้จักทำเท่าที่สติปัญญาของมันจะเอื้ออำนวย ถ้ามนุษย์เราเกิดมาเพียงเพื่อหาสุขใส่ตัว เราก็คงไม่ประเสริฐกว่าสัตว์ พุทธศาสนาคิดว่าเราควรใช้ชีวิตอย่างผู้ประเสริฐ อะไรทำให้เราเป็นผู้ประเสริฐ คัมภีร์พุทธศาสนาตอบว่าธรรม ธรรมในที่นี้ก็คือการรู้จักใช้ปัญญาไตร่ตรองว่าอะไรคือแก่นสารของความเป็นคน เด็กสาวหรือเด็กหนุ่มที่เอาแต่แต่งตัวและสนใจแต่หน้าตาตัวเอง ว่าจะเป็นที่พึงใจของเพศตรงข้ามหรือไม่ ตามหลักพุทธศาสนายังไม่ถือว่าเข้าใจชีวิต เราอาจจะสนใจตัวเองก็ได้เพราะเรายังเป็นปุถุชน แต่ก็ควรสนใจเรื่องที่ประเทืองสติปัญญาอันไม่เกินกว่าวัยของเราที่จะเข้าใจด้วย นอกจากนี้พุทธศาสนาก็เสนอว่า การศึกษาควรเตรียมเยาวชนให้เป็นผู้รู้จักแยกแยะว่าอะไรคือความจริงความลวงด้วย ยิ่งในโลกสมัยใหม่ที่ระบบการโฆษณาสินค้าพยายามยั่วยุให้เราแยกไม่ออกระหว่างสองสิ่งนี้ การศึกษาชนิดนี้ยิ่งจำเป็นมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
                  สังคมไทยปัจจุบันรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกมาทำให้วัฒนธรรมที่อยู่ใกล้ๆกับเรานี้คือวัฒนธรรมอินเดียถูกมองข้ามไป พุทธศาสนาและศาสนาฮินดูนั้นยังมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทยอยู่ แม้จะอ่อนกำลังลงไปมาก แต่สิ่งนี้ย่อมสะท้อนให้เห็นว่าวัฒนธรรมอินเดียยังมีรากที่หยั่งลึกพอสมควรในสังคมเรา เมื่อเรารับวัฒนธรรมอินเดียมานั้น เราได้พยายามปรับให้เป็นไทย และเราก็ปรับได้มากทีเดียวดังจะเห็นได้จากการที่พุทธศาสนาอย่างไทยนั้น การที่เรามีทุนทางวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงไปหาอินเดียอยู่นี้ อาจทำให้เป็นเงื่อนไขที่ดีที่เราจะลองพิจารณาศึกษาวัฒนธรรมอินเดียในแง่ใหม่ ๆ บ้าง เลข 0 ที่เป็นตัวเลขที่ปฏิวัติความก้าวหน้าทางคณิตศาสตร์ของโลกอย่างขนานใหญ่นั้น ก็มาจากการสร้างสรรค์ของชาวฮินดูโบราณ ตัวเลขในโลกนั้นมีอยู่สองระบบหรือเลขโรมันกับเลขฮินดูอารบิค เลขโรมันไม่มีเลขศูนย์ คณิตศาสตร์ของโรมันจึงไม่ก้าวหน้า พอชาวอาหรับนำเลขศูนย์ของอินเดียไปเผยแพร่ในโลกตะวันตก ก็เกิดการปฏิวัติอย่างใหญ่หลวงในทางคณิตศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ก้าวหน้ามากในยุคนี้ก็มาจากการมีเลข 0 นั่นเอง ถ้าปราศจากเลขตัวนี้ อะไรๆ ก็คงไม่ก้าวมามากขนาดนี้
                           การเรียนรู้วัฒนธรรมอินเดียสำหรับคนไทยคงไม่ใช่เพื่อลอกเลียนแบบอินเดีย หรือรับอินเดียมาทั้งหมดโดยไม่มีวิจารณญาณ เพราะถ้าเป็นอย่างนั้น ก็จะไม่ต่างจากการรับวัฒนธรรมตะวันตกมาอย่างไม่พิจารณา อย่างที่เรากำลังวิจารณ์กันมากในปัจจุบัน การศึกษาวัฒนธรรมอินเดีย ควรเน้นที่การดูว่า อะไรคือแก่นสารของความคิดแบบอินเดีย แก่นสารที่ว่านี้แต่ละคนอาจมองเห็นไม่เหมือนกัน แต่ถ้าเรามองเห็น เราก็อาจมองเห็นช่องทางต่อไปว่าเราจะสร้างสิ่งที่เรียกว่า แก่นสารความเป็นไทยได้อย่างไร เราเองควรมีแก่นสารแบบไทย และแก่นสารแบบไทยนี้เองที่จะช่วยให้เรากล่าวได้ว่าเราเป็นชาติอารยะ..
                      มนุษย์แต่ละคนซึ่งมีชีวิตอยู่ในขณะนี้เป็นชิ้นส่วนของพระพรหมส่วนใดส่วนหนึ่ง ตามวรรณะของตน กล่าวคือ กษัตริย์เกิดจากพาหาของพระพรหม พราหมณ์เกิดจากโอษฐ์ของพระพรหม แพศย์เกิดจากส่วนท้องของพระพรหม และศูทรเกิดจากเท้าของพระพรหม ทุกวรรณะที่มีชีวิตอยู่ในขณะนี้เกิดจากพระพรหมและเมื่อเกิดมาแล้ว ก็ต้องทำตามหน้าที่ตามวรรณะของตน เมื่อเกิดความบริสุทธิ์เพราะการปฏิบัติหน้าที่ และการทำความดีอย่างอื่นควบคู่กันไปจนเกิดความบริสุทธิ์ ทั้งทางกายและใจก็จะกลับไปอยู่ในร่างของพระพรหมเป็นชีวิตอมตะไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารต่อไปอีก                                  
หลักปรัชญาและแนวคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับชีวิตของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู สรุปได้ดังนี้ (ทองหล่อ วงษ์ธรรม 2541 : 54)
  • เรื่องเทพเจ้า มีการอธิบายลักษณะของพระพรหมเพิ่มจากเดิมให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นว่า พระเจ้าแท้จริงมีพระพรหมเพียงองค์เดียว
  • เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด มีปรัชญาอธิบายว่า การที่มนุษย์ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสภาพต่าง ๆ นั้น เป็นเพราะผลของ(กรรมเก่า) พระพรหมเป็นศูนย์รวมและเป็นต้นกำเนิดแห่งวิญญาณทั้งปวง สิ่งมีชีวิตทั้งหมดถือกำเนิดมาจากพรหม
  • เรื่องวิธีการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด อธิบายว่า ผู้ใดยุติการกระทำ ผู้นั้นย่อมหลุดพ้นจากการเกิด
  • เรื่องวันสิ้นโลก อธิบายว่า โลกที่พระพรหมสร้างขึ้นมีอายุขัย เมื่อครบกำหนดอายุขัย จะมีการสร้างโลกขึ้นใหม่ ระยะเวลาตั้งแต่การสร้างโลกจนถึงการล้างโลกเรียกว่า กัลป์หนึ่ง แบ่งเป็น 4 ยุค คือ กฤตยุค เตรตายุค ทวาปรยุค และกลียุค ทั้ง 4 ยุครวมกันเรียกว่า มหายุคแต่ละยุคเวลาจะสั้นลงตามดับเช่นกัน
  • เรื่องการศึกษา มีการกำหนดการศึกษาภาคบังคับ กล่าวคือประชาชนที่อยู่ในวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ และแพศย์จะต้องส่งบุตรหลานของตนเข้าศึกษาในสถานศึกษาแห่งใดแห่งหนึ่งของวรรณะพราหมณ์ ก่อนรับเข้าศึกษา นักบวชพราหมณ์จะประกอบพิธีเสกเป่ามนตราและคล้องด้ายมงคลที่ถือว่าศักสิทธิ์ เรียกว่าสายธุรำเฉวียงบ่าแก่เด็ก พิธีนี้เรียกว่า ยัชโญปวีตผู้ผ่านพิธีนี้แล้วถือว่าเป็นผู้เกิดใหม่ เรียกว่า ทวิชแปลว่า ผู้เกิดสองครั้ง
ประโยชน์สูงสุดของชีวิต

1. อรรถะ (Wealth) การแสวงหาทรัพย์ หรือสร้างฐานะในทางเศรษฐกิจตามคำสอนในคัมภีร์อรรถศาสตร์ แต่งโดยท่านเกาฑัญญะ เป็นคัมภีร์ว่าด้วยการปกครอง การจัดระบบเศรษฐกิจ ระเบียบในการสงคราม

2. กามะ (Pleasure) เป็นการให้ความสำคัญต่อชีวิตครอบครัว การแสวงหาความสุขนั้น ตามหลักคำสอนของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู จะต้องดำเนินไปตามแบบแผนหรือระเบียบแห่งความประพฤติของสังคม

3. ธรรมะ (Norm) หมายถึง หลักศีลธรรมของสังคมฮินดู โดยทั่วไป ธรรม หมายถึง หน้าที่ที่ต้องปฏิบัติเป็นการบังคับให้ทำตามหลักของศาสนา

4. โมกษะ (Liberation) คืออิสรภาพของวิญญาณ อันเป็นอุดมคติและคุณค่าสูงสุดในชีวิต เป็นชีวิตที่ข้ามพ้นจากสังสารวัฏเข้าสู่ความสุขอันเป็นนิรันดร์ นั่นคือ การปฏิบัติให้รู้จักตนเองว่าคือใคร พรหมคือใคร ในโลกนี้มีอะไรที่มีสาระสำคัญหรือมีค่าสูงสุด การรู้แจ้งในตนเองว่าเป็นพรหมและรู้แจ้งพรหมว่าเป็นปฐมวิญญาณของตน นี่คือรวมเอาวิญญาณ (อาตมัน) อันเป็นของตนไปรวมกับปฐมวิญญาณ (ปรมาตมัน) จึงเรียกว่า การเข้าถึงโมกษะ คือการปลดปล่อยวิญญาณให้เป็นอิสระอย่างสมบูรณ์ อันเป็นจุดหมายสูงสุดในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
หลักความดีสูงสุด
โมกษะ คือหลักความดีสูงสุดในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีหลักการสำคัญของศาสนาว่า ผู้ใดรู้แจ้งในอาตมัน (วิญญาณ) ของตนเองว่าเป็นอาตมันของพรหม ผู้นั้นย่อมข้ามพ้นจากสังสารวัฏ และไม่ปฏิสนธิอีกถือว่าเป็นความดีขั้นสูงสุด (Summum Bonum) ปรัชญาที่ถือว่าเป็นแก่นแท้ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูนั้นคือปรมาตมันและหลักโมกษะ

คำว่า ปรมาตมัน หมายถึงสิ่งที่ยิ่งใหญ่อันเป็นที่รวมของสิ่งในสากลจักรวาล ซึ่งเรียกว่า พรหม ปรมาตมันกับพรหมคือสิ่งเดียวกัน (หมายถึงพรหมไม่มีรูปร่าง) อันมีลักษณะคือ

1. เป็นสิ่งมีเองเป็นเอง ไม่มีเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด
2. เป็นนามธรรม (ไม่มีรูปร่าง) สิ่งสถิตอยู่ในสรรพสิ่ง ไม่สามารถมองเห็นด้วยตา
3. เป็นที่รวมของวิญญาณ (อาตมัน) ทั้งปวง
4. สรรพสิ่งในสากลจักรวาลล้วนเป็นส่วนย่อยที่ออกมาจากพรหม
5. เป็นอันติมสัจจะ (ความจริงขั้นสูงสุด)
6. เป็นผู้ประทานความรู้ (ญาณ) ความคิดและความบันเทิง
7. เป็นสิ่งนิรันดร์ คือคงสภาพเดิมไม่เปลี่ยนแปลง

                  คัมภีร์อุปนิษัท ได้กล่าวถึงสิ่งสัมบูรณ์ว่าเป็นอาตมันและพรหมัน โดยกล่าวว่าอาตมันและพรหมัน เป็นสิ่งเดียวกันเพียงแต่การมองจากแง่อัตวิสัยหรือในฐานะผู้รู้เรียกว่าอาตมันแต่หากจะมองในแง่วัตถุวิสัย หรือในฐานะเป็นสิ่งที่ถูกรู้ เรียกว่า พรหมันจากการศึกษาปรัชญาอินเดียโดยนำมาจากหลักการความคิดความเชื่อของเจ้าของลัทธิพราหมณ์ปรมาตมัน คือตัวตนสากล (วิญญาณสากล) เป็นวิญญาณที่บริสุทธิ์ ไม่ได้ถูกจำกัดด้วยสิ่งใดส่วนชีวาตมันเป็นตัวตนย่อยถูกจำกัดด้วยร่างกาย ชีวาตมันเกิดจากส่วนผสมของดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นส่วนหนึ่งแห่งอาตมันสากล เมื่อร่างกายแตกดับ สิ่งที่เหลืออยู่คืออาตมันสากลหรือปรมาตมัน ซึ่งไม่มีวันจะสูญสิ้น
 
                            การดำเนินชีวิตตามแนวพุทธธรรม การดำรงชีวิตนับว่าเป็นเรื่องใหญ่ เพราะจะต้องต่อสู้กับปัญหาน้อยใหญ่นานัปการ ทั้งปัญหาการครองชีวิต ปัญหาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และปัญหาสุขภาพอนามัย ซึ่งแต่ละคนก็มีปัญหาที่แตกต่างกันไปคนละหลายปัญหา ชีวิตควรเป็นอยู่อย่างมีความสุข เมื่อคนที่เคยรู้จักคุ้นเคยเคยพบกัน คำถามประโยคที่สองหลังจากกล่าวคำว่า สวัสดีเป็นการทักทายคือ สบายดีไหม? “คำว่าสบายดีในความหมายก็คือ มีความสุขเพราะมนุษย์โดยทั่วไปพากันแสวงหาความสุข ความสุขจึงเป็นเป้าหมายใหญ่ของชีวิต ความสุขมีทั้งสุขแบบโลก และสุขแบบธรรม สุขแบบโลกเป็นความสุขของชาวโลก หรือชาวบ้านซึ่งได้แก่พวกคฤหัสถ์ หรือฆราวาสจะพึงมีส่วนสุขแบบธรรมเป็นความสุขเกิดจากฌานสมบัติ และภาวะที่ไม่มีกิเลส หรือปราศจากความทุกข์ทางใจ     ความสุขของคฤหัสถ์ ความสุขของคฤหาสถ์หรือชาวบ้านทั่ว ๆ ไปมี 4 อย่างคือ (พระราชวรมุนีประยุทธ์ปยุตโต พจนานุกรมพุทธศาสตร์ :173) 
1) อัตถิสุข สุขเกิดจากความมีทรัพย์ คือความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนมีโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยน้ำพักน้ำแรงความขยันหมั่นเพียรของตนและโดยชอบธรรม 
2) โภคสุข สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ คือความภูมิใจ เอิบอิ่มใจว่าตนได้ใช้ทรัพย์ที่ได้มาโดยชอบนั้น เลี้ยงชีพ เลี้ยงผู้ควรเลี้ยง และบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่สาธารณะ 
3) อนณสุข สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้ คือความภูมิใจเอิบอิ่มใจว่า ตนเป็นไทไม่มีหนี้สินติดค้างใคร 
4) อนวัชชสุข สุขเกิดจากความประพฤติไม่มีโทษ คือความภูมิใจเอิบอิ่มใจว่าตนมีความประพฤติสุจริต ไม่บกพร่องเสียหาย ใครๆ ติเตียน ไม่ได้ทั้งทางกายวาจาใจ 

                                                     ความสุขเกิดจากความสันโดษ 
                   คำว่า สันโดษ แปลว่า ความยินดี คือความพอใจ ความยินดีด้วยของของตน ซึ่งได้มาด้วยเรื่องแรงความเพียรโดยชอบธรรม ความยินดีด้วยปัจจัยสี่ ตามมีตามได้ ความรู้จักอิ่มรู้จักพอเห็นได้ชาวอินเดีย-เนปาลได้นำมาใช้มากกว่าชนชาติอื่นในปัจจุบันเท่าได้ดูจากการดำเนินชีวติของชาวอินเดียในครั้งนี้โดยไม่แน่ใจว่าได้รับอิทธิพลจากฮินดูหรือพุทธศาสนาแยกแทบไม่ออกเลยแต่ถือเป็นสิ่งที่ดีเมื่อชาวอินเดียได้นำมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบันนี้มีความเข้าใจผิดกันว่า สันโดษ คือความไม่กระตือรือร้น งอมืองอเท้าไม่ดิ้นรนขวนขวายหาทรัพย์ มักเป็นทัศนะชาวไทยมากกว่าที่ใช้อารมณ์ความรู้สึกตีความโดยปราศจากความรู้ที่แท้จริงเพราะปัจจุบันประชาชนในไทยใช้ชีวิตประมาทมักง่ายหลงมัวเมาในวัตถุนิยมมากกว่าชาวอินเดียเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาจิตใจความตั้งใจประกอบการดำเนินชีวิตที่ไร้ค่าเอามากๆถึงกับในสมัยหนึ่งรัฐบาลไทย ไม่เห็นด้วยที่จะให้พระสงฆ์เทศน์เรื่องความสันโดษเพราะว่าประชาชนจะไม่ให้ความร่วมมือในการพัฒนา แต่ความหมายของสันโดษมิได้เป็นไปในลักษณะนั้น เป็นหลักธรรมที่ให้คนยั้งคิดถึงความถูกต้องเพื่อให้มีความสุขในการดำรงชีวิตเพราะคนไทยยังขาดความรู้ในความหมายของสันโดษเป็นเพราะคนไทยเกลียดคล้านมากกว่าแม้ว่าจะถือว่าเป็นชาวพุทธแต่การดำเนินชีวิตประมาทในธรรมมากความจริงแล้วสันโดษมี 3 อย่าง คือ 
                            1) ยถาลาภสันโดษ คือความยินดีตามที่ได้ยินดีตามที่พึ่งได้ คือตนได้สิ่งใดมาหรือเพียรหาสิ่งใดมาได้เมื่อเป็นสิ่งที่ตนพึ่งได้ ไม่ว่าจะหยาบหรือประณีตแค่ไหนก็ยินดีพอใจด้วยสิ่งนั้น 
                           2) ยถาพลสันโดษ คือยินดีตามกำลัง ยินดีแต่พอแก่กำลังร่างกายสุขภาพและวิสัยแห่งการใช้สอยของตน ไม่ยินดีอยากได้เกินกำลังตนมี หรือยากได้สิ่งใดมาอันไม่ถูกกับกำลังร่างกาย หรือสุขภาพ 
                          3) ยถาสารุปปสันโดษ คือยินดีตามสมควร ยินดีตามที่เหมาะสมกับตนอันสมควรแก่ภาวะฐานะ แนวทางชีวิต และจุดมุ่งหมายแห่งการบำเพ็ญกิจของตน 






ข้อมูลที่สถานเอกอัครราชทูตนำมาเผยแพร่ในเพจนี้ ได้ทั้งจากพระธรรมทูตไทยสายอินเดีย พระนักศึกษาที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ และจากทางการอินเดียที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้หวังว่าข้อมูลสำหรับผู้แสวงบุญนี้จะเกิดประโยชน์กับผู้แสวงบุญชาวไทยทุกท่าน

คำแนะนำการเตรียมตัวไปแสวงบุญสักการะสังเวชนียสถานในอินเดียและเนปาล

1. เตรียมใจ

การไปอินเดียถือว่าเป็นการไปแสวงบุญในฐานะชาวพุทธที่ต้องการสักการะและบูชาคุณพระพุทธเจ้า ดังนั้นการไปสักการะสถานที่ดังกล่าวเหล่านี้ ถือว่าไประลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและให้เกิดสติ ปลงธรรมสังเวชว่าทุกอย่างย่อมมีเหตุ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป เป็นของธรรมดา ในฐานะชาวพุทธจึงถือเป็นการไปสักการะพระพุทธองค์ที่ตรงจุดที่สุด ณ สถานที่จริง เป็นการตามรอยพระพุทธบาทในดินแดนพุทธภูมิ ทั้งนี้ เป็นที่ยอมรับกันว่าในฐานะพุทธมามะกะ ควรหาโอกาสไปสักครั้งหนึ่งในชีวิต

นอกจากการเตรียมใจที่เป็นบุญแล้ว ยังต้องเตรียมสภาพจิตใจให้พร้อมที่จะเผชิญกับความแตกต่างทางวัฒนธรรม ความยากลำบากในการเดินทาง และสุขอนามัยต่างๆ ที่บ่อยครั้งก่อให้เกิดความรำคาญจนทำให้การมาทำบุญกลับไม่ได้รับความสบายใจกลับไป แต่ถ้าท่านทั้งหลายแตรียมใจให้พร้อมแล้วหละก็ บุญกุศลที่ทำในครั้งนี้ก็จะได้กลับไปอย่างเปี่ยมล้มเลยที่เดียว หลายๆ คนพูดกับผู้เขียนว่า อยากมาไหว้พระที่อินเดียครับแต่กลัวสกปรก กลัวร้อน กลัวขอทาน กลัวหนู กลัวห้องน้ำไม่สะอาด กลัวกินอาหารแขกไม่ได้ผู้เขียนจึงได้บอกกลับไปว่าถ้ายังมีความกลัวเหล่านี้อยู่ ก็อย่าเพิ่งมาอินเดียเลยแปลว่าคุณยังไม่พร้อมทั้งกายและใจที่จะมาได้รับบุญ

2. เตรียมกาย

การเดินทางไปแสวงบุญโดยปกติใช้เวลา ประมาณ 7-10 วัน เดินทางโดยเครื่องบินจากกรุงเทพฯ ไปลงที่คยาหรือพาราณสี จากนั้นนั่งรถบัสไปยังสังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่ง ทั้งในอินเดียและเนปาล ซึ่งเวลาในการเดินทางโดยรถยนต์นั้นนาน บางช่วงเดินทางทั้งวัน การเตรียมสุขภาพให้พร้อมจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ผู้ที่มีโรคประจำตัวควรหารือแพทย์ว่าจะสามารถเดินทางไกลได้หรือไม่ หรือหากเดินทางได้ ก็ควรเตรียมยาประจำตัวและสมุดสุขภาพเป็นภาษาอังกฤษไปด้วย เผื่อกรณีฉุกเฉิน จะได้มีข้อมูลสุขภาพที่ถูกต้อง การเตรียมกายเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งต้องตระหนักว่าท่านต้องสามารถช่วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง หากเป็นผู้สูงอายุ แม้จะมีคนดูแลแต่ก็ต้องสามารถดูแลตัวเองได้ ท่านที่ทราบว่าแพ้อะไร ก็ควรเตรียมยารักษาโรคนั้นไปด้วย รวมทั้งสุขภัณฑ์พกพาประจำตัวที่ท่านต้องใช้ในระหว่างการเดินทาง เพื่อรักษาความสะอาด รวมทั้งเสื้อผ้าที่เหมาะสมสำหรับการไปแสวงบุญ ทั้งนี้ ช่วงฤดูการแสวงบุญจะอยู่ในช่วงอากาศหนาว จึงต้องเตรียมเสื้อผ้าและอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อม

ในปัจจุบันนับว่าเป็นบุญของผู้แสวงบุญที่พระธรรมทูตไทยสายอินเดีย-เนปาล นำโดยพระเดชพระคุณพระเทพโพธิวิเทศ ได้จัดทีมแพทย์มาประจำการที่เมืองคยา และกุสินารา ในช่วงฤดูการแสวงบุญ มีรถพยาบาลเคลื่อนที่เร็วในกรณีฉุกเฉิน อีกทั้งมีการสร้างจุดแวะพักระหว่างทางไปสังเวชนียสถานต่างๆ ที่เป็นทั้งวัด ทั้งร้านขายของที่ระลึก และห้องสุขาที่สะอาด ที่ผู้เขียนมักจะบอกใครๆ ว่าสามารถเอาตัวลงไปนอนในห้องน้ำนั้นได้อย่างสบายๆ

3. เตรียมข้อมูล

เมื่อตัดสินใจว่าจะไปแสวงบุญ และได้เตรียมตัวเตรียมกายแล้ว สิ่งที่ต้องทำก็คือหาข้อมูลของการเดินทาง ข้อมูลบริษัททัวร์ที่จะใช้บริการซึ่งก็หาไม่ยากนักจากอินเตอร์เน็ต การอ่านข้อมูลคร่าวๆ ก่อนถึงสถานที่จริงจะยิ่งทำให้การเดินทางมาแสวงบุญนั้น น่าประทับใจและเป็นที่จดจำ เรียกง่ายตามสไตล์วัยรุ่นว่ามันจะอินสุดๆ กว่าที่เราไม่รู้ไรมาเลย

ข้อมูลทึ่สำคัญอีกส่างที่ควรรู้ คือ พุทธคยานี้อยู่ในรัฐพิหารซึ่งอยู่ในเขตอาณาของสถานกงสุลใหญ ณ เมืองกัลกัตตา ในส่วนของสารนาถ สถานที่ปฐมเทศนาและกุสินารา สถานที่ปรินิพพาน อยู่ในรัฐอุตตระประเทศซึ่งอยู่ในเขตอาณาของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี ส่วนลุมพินีอยู่ในการดูแลของสถานทูตไทยในประเทศเนปาล ดังนั้น หากผู้แสวงบุญต้องการติดต่อหน่วยงานในระหว่างแสวงบุญก็สามารถติดต่อสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองกัลกัตตตา (+91 …….) และ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี (+91 9899649401) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกาฐมาณฑุ (เนปาล) (+ ….) ได้

4. เตรียมเดินทาง

การเตรียมการเดินทางก็คือการเตรียมสัมภาระ เสื้อผ้า อุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งยารักษาโรค ซึ่งมีข้อแนะนำ ดังนี้

นำเสื้อผ้าที่เหมาะสมกับการเดินทางโดยรถยนต์และที่ใส่สบายเหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรม
เสื้อผ้าสำหรับอากาศหนาว
ไฟฉายและยากันยุง
อย่านำของมีค่าติดตัวไป
เตรียมยารักษาโรคประจำตัวและของใช้ส่วนตัว
เตรียมนาฬิกาปลุกส่วนตัวไปด้วยเพราะส่วนใหญ่ต้องเดินทางเช้าตรู่
เตรียมเงินไปให้เหมาะสมและพอดีกับการเดินทาง 10 วันรวมทั้งสำหรับการทำบุญตามวัดต่างๆ ซึ่งหากเป็นวัดไทย สามารถทำบุญด้วยเงินไทยหรือเงินเหรียญสหรัฐฯได้ นอกนั้นเป็นเงินรูปีอินเดีย
มือถือควรขอใช้บริการโทรระหว่างประเทศ หรือมาซื้อซิมของอินเดียใช้โทรกลับประเทศไทย
หนังสือเดินทางควรเก็บรักษาให้ดีและถ่ายเอกสารทำสำเนาไว้
5. การเตรียมพร้อมระหว่างการเดินทาง

ในระหว่างการเดินทาง สิ่งที่ท่านจะต้องเจอ มีดังนี้

ความไม่สะอาดของสถานที่และสิ่งของในระหว่างการเดินทาง จึงควรเตรียมสุขภัณฑ์ทำความสะอาดส่วนตัวไปด้วย
การดื่มน้ำควรซื้อที่เป็นขวดที่มีมาตรฐานหรือที่เป็นกระป๋องเท่านั้น
อาหารควรเป็นอาหารที่ทัวร์แนะนำเท่านั้น
คนขายของข้างทางที่จะคะยั้นคะยอให้ซื้อของ ควรต่อรองราคาเท่าที่จะทำได้
อย่าออกนอกกลุ่มหรือเส้นทางโดยลำพัง หากเกิดปัญหาต่างๆ ให้รีบแจ้งหัวหน้าทัวร์
การเดินทางไปตามสังเวชนียสถานเป็นการเดินทางที่ยาวนานระหว่างจุดหมาย และระหว่างทางก็มักจะไม่มีจุดจอดรถที่เหมาะสมมากนัก ยกเว้นวัดไทย ห้องน้ำอาจไม่สะอาดเท่าที่ควร ผู้แสวงบุญจึงควรทำใจและเตรียมพร้อมสำหรับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยปรึกษาหัวหน้าทัวร์ทุกการเดินทางระหว่างวัน
การพักในวัดไทย ควรรักษากริยา มารยาทและสำรวมเพราะอยู่ในเขตวัด และรักษาความสะอาดให้กับสถานที่ทุกครั้ง


กรณีหนังสือเดินทางหาย ต้องติดต่อสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองกัลกัตตา หรือ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี ให้ออกเอกสารเดินทางกลับประเทศจึงจะสามารถเดินทางกลับได้

สำหรับท่านที่เริ่มต้องเดินทางไปอินเดียครั้งแรก


ควรสำรองเงินไทยไว้สำหรับการทำบุญอุทิศด้วย

ความคิดเห็น